วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561

โครงการบ้านสีขาวปลอดยาเสพติด

             วัตถุประสงค์ การลงทัณฑ์ทางสังคม (Social Sanction)
             1. แยกครอบครัวที่ดีออกจากครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในชุมชน
             2. ให้คนในครอบครัวสนใจดูแลเอาใจใส่สมาชิกไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
             3. ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน
             4. สร้างความสามัคคีและความร่วมมือให้เกิดขึ้นในชุมชน
             5. สร้างความใกล้ชิดระหว่างชุมชนกับสถานีตำรวจ

             ผลที่คาดว่าจะได้รับ 
             1. ชุมชนมีความเข้มแข็ง ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม มีระบบการเฝ้าระวังและทำลายการแพร่ระบาดของยาเสพติด
             2. จำนวนครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่ลดลงมากกว่าร้อยละ 20
             3. ประชาชนในชุมชนที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด เกิดความรัก ความผูกพัน ความสามัคคีในชุมชนอย่างยั่งยืนถาวร
             4. คนในครอบครัวบ้านสีขาวเป็นที่ยอมรับของสังคม ส่งผลให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลนั้นทั้งทางส่วนตัวและโอกาสในการประกอบอาชีพการงาน

             เป้าหมาย
             1. ชุมชนที่มีการแพร่ระบาดยาเสพติดรุนแรงจากข้อมูลของ ศอ.ปส. บช.น. ปปส.กทม. และ สน.
             2. ชุมชนที่มีการแพร่ระบาดยาเสพติด และเป็นชุมชนที่มีความพร้อมและสมัครใจเข้าร่วมโครงการ

            บช.น.
            - บริหาร ควบคุม กำกับดูแล
            - ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจ ให้ความรู้ แนะนำการปฏิบัติ
            - ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานทุกระยะ
            บก.อก.
            - รับผิดชอบโครงการ
            - ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ
            - รายงานผลการดำเนินการ บช.น.
            บก.น.
            - แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ ผบก.น. เป็น ผอ.
            - อำนวยการ ควบคุม สั่งการ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติของ สน.
            - รวบรวม ประเมินผลการดำเนินการของ สน. รายงาน บช.น.

             สน. 
             - หน่วยปฏบัติ
             - ดำเนินการตามขั้นตอน
             - รายงานผลให้ บก.น. ตามแบบและระยะเวลากำหนด
             กทม.เขต
             - สนับสนุนด้านการติดตามและช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดที่ผ่านการบำบัดรักษา
             - สนับสนุนการจัดการพื้นที่เสี่ยง จุดล่อแหลม แหล่งมั่วสุม
             - รายงานผลให้ ศปปส.เขต ศอ.ปส.กทม.
             ปปส.กทม.
             - ร่วมตรวจสอบค้นหาผู้เสพ ผู้ค้ารายย่อย/รายสำคัญในพื้นที่ชุมชน
             - สนับสนุนการคัดกรองผู้เสพ/ผู้ติดภายในชุมชนเข้าสู่การบำบัดรักษา
             - สนับสนุนงบประมาณ ชป. การประชุมชี้แจง การจัดทำป้ายบ้านสีขาว



การดำเนินการของ ผกก.สน. ตามโครงการ “บ้านสีขาว ปลอดยาเสพติด” 
ขั้นตอนที่  1
             1. ตั้งคณะทำงาน สน. ประกอบด้วย ฝ่ายอำนวยการ ฝ่ายปฏิบัติการ และ ฝ่ายประชาสัมพันธ์
             2. จัดตั้งศูนย์รับแจ้งข้อมูลด้านยาเสพติด อาชญากรรม และเรื่องราวร้องทุกข์ในชุมชน
             3. ประสานผู้นำศาสนาทุกศาสนา ผู้นำชุมชน
                 1) ร่วมกันกำหนดมาตรการทางสังคม (Social Sanction) เพื่อบังคับใช้กับผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
                 2) ร่วมกันกำหนดกรรมการคัดกรองบ้านสีขาวประจำชุมชน จำนวนตามความเหมาะสม โดยเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
             4. แต่งตั้งคณะกรรรมการคัดกรองบ้านสีขาวประจำชุมชน
                 1) ติดประกาศรายชื่อกรรมการคัดกรองบ้านสีขาวหน้าที่ทำการชุมชน เพื่อให้ชุมชนตรวจสอบ/คัดค้านอย่างน้อย 3 วัน
                 2) คณะทำงาน สน. ตรวจสอบอีกครั้งเพื่อยืนยัน

การดำเนินการของ ชุดปฏิบัติการตามโครงการ “บ้านสีขาว ปลอดยาเสพติด” 
ขั้นตอนที่ 2
             1. รวบรวมสภาพปัญหาของบ้านต่าง ๆ (ทุกหลังคาเรือน) และชุมชนจาก
                 1) คณะกรรมการชุมชน
                 2) ผู้อยู่อาศัย
                 3) ศูนย์รับแจ้งข้อมูลประจำชุมชน
             2. จัดกลุ่ม/ลำดับความสำคัญของปัญหา เสนอคณะกรรมการอำนวยการ
             3. ค้นหาผู้มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด (ผู้เสพ ผู้ค้ารายย่อย ผู้ค้ารายสำคัญ) จาก
                 1) การทำแผนตรวจเยี่ยมชุมชนเพื่อเก็บข้อมูล
                 2) การใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล
                 3) การใช้ข้อมูลจากศูนย์รับแจ้งข้อมูลประจำชุมชน
                 4) ทำการจำแนกข้อมูล
                      4.1 ผู้เสพที่ชุมชนต้องการให้เข้าสู่กระบวนการสมัครใจบำบัด
                      4.2 ผู้เสพที่ชุมชนต้องการให้เข้าสู่กระบวนการบังคับบำบัด
                      4.3  ผู้รายย่อย ผู้ค้ารายสำคัญในชุมชน
             4. จัดทำข้อมูลประวัติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรม (แบบ ตร) รวบรวมที่ สน.
             5. นำข้อมูลตามข้อ 4 มาตรวจสอบประวัติ/วิเคราะห์/วางแผนดำเนินการ

การดำเนินการของ คณะทำงาน ตามโครงการ “บ้านสีขาว ปลอดยาเสพติด” 
ขั้นตอนที่ 3 
             1. ประชุมวางแผนดำเนินการ และชี้แจงนโยบายการดำเนินโครงการให้ข้าราชในสังกัดทราบ
             2. มอบหมายหน้าที่ ผู้ปฏิบัติมีความรู้ความเข้าใจ/ทัศนคติที่ถูกต้องในการดำเนินงาน และตระหนักในภารกิจแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนตรงตามความต้องการประชาชน
             3. เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เข้าร่วมในการหามาตรการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือ เช่น เขต ปปส.กทม. หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน ศาสนสถาน สถานศึกษา
             4. นำข้อมูลที่ได้รวบรวม/ตรวจสอบ มอบให้คณะกรรมการคัดกรอบนำไปใช้พิจารณาคัดเลือก “บ้านสีขาว ปลอดยาเสพติด

การดำเนินการของ คณะกรรมการคัดกรองตามโครงการ “บ้านสีขาว ปลอดยาเสพติด” 
ขั้นตอนที่  4
             1. นำข้อมูลที่ได้รับจากคณะทำงาน สน. ใช้พิจารณาคัดกรอง “บ้านสีขาว ปลอดยาเสพติด
             2. กรณีที่บ้านหลังใดผ่านการคัดกรอง โดยใช้มติ 2 ใน 3 ของคณะกรรมการคัดกรอง ดำเนินการดังนี้
                 1) ประกาศรับรองเป็นบ้านสีขาว ปลอดยาเสพติด
                 2) ขึ้นบัญชีเพื่อมอบป้ายสัญลักษณ์
             3. กรณีที่บ้านหลังใดไม่ผ่านการคัดกรอง ดำเนินการดังนี้
                 1) รายงานให้ผู้เกี่ยวข้องในชุมชนทราบ เพื่อใช้มาตรการทางสังคมที่กำหนดมาบังคับใช้อย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง
                 2) รายงานให้คณะทำงาน สน. ทราบเพื่อกำหนดมาตรการในการปราบปรามผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

การดำเนินการของ ชุดปฏิบัติการ  ตามโครงการ “บ้านสีขาว ปลอดยาเสพติด” 
ขั้นตอนที่  4
             1. นำข้อมูลที่ได้รับจากคณะกรรมการคัดกรองมาดำเนินการดังนี้
                 1) ประสานผู้นำชุมชน/ผู้เกี่ยวข้อง
                     - หาตัวผู้สมัครใจบำบัด
                     - ดำเนินการให้เกิดการบำบัดในชุมชนโดยครอบครัวบำบัด
                     - จัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมัครใจบำบัด
                     - ให้ พงส. หรือ จนท.ฝ่ายสืบสวน บันทึกคำให้การของผู้สมัครบำบัดให้ทราบถึงผู้ค้าในชุมชน
                     - จัดทำข้อมูลประวัติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดตามแบบ ตร. เก็บไว้ที่ สน.
                     - จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ไม่สมัครใจบำบัด
                 2) จัดเจ้าหน้าที่ใช้มาตรการทางกฎหมายกดดันผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดควบคู่กับชุมชนใช้มาตรการทางสังคม
                     - ระดมกวาดล้างยาเสพติดและอาชญากรรมในชุมชน โดยเฉพาะบ้านที่ไม่ผ่านการคัดกรอง
                     - ขยายผลการจับไปสู่ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ โดยใช้มาตรการทางกฎหมายทุกมาตรการ
                     - ผู้เสพให้ดำเนินการตาม คสช.ที่ 108/2557 และ พรบ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 แล้วแต่กรณี

การดำเนินการของ ผกก.สน. ตามโครงการ “บ้านสีขาว ปลอดยาเสพติด” 
ขั้นตอนที่  5
            1. จัดประชุมคณะทำงาน สน. คณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการคัดกรอง และประชาชนในชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อแจ้งความคืบหน้า ระดมความคิดเห็นและกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา
            2. มอบหมายชุดปฏิบัติดำเนินการ ดังนี้
                1. จัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจจากประชาชนในชุมชน 3 เดือนต่อครั้ง และหลังเสร็จสิ้นโครงการ
                2. ทำการตรวจสอบซ้ำ (Re X-ray) ด้วยการตรวจสอบข้อมูลและสุ่มตรวจบ้านที่ได้รับป้ายสัญลักษณ์
                3. หากพบบ้านใดมีผู้กลับมามีพฤติการณ์ซ้ำให้แจ้งคณะกรรมการคัดกรองเพื่อพิจารณายึดป้าย (มติ 2 ใน 3)
                4. ทำการประเมินผลเชิงปริมาณเพื่อเปรียบเทียบกับสถิติการเกิดคดีในพื้นที่ก่อนและหลังดำเนินโครงการเดือนละ 1 ครั้ง และหลังเสร็จสิ้นโครงการ
                5. ติดตามผลและเฝ้าระวังไม่ให้มีการกลับมาแพร่ระบาดยาเสพติดในชุมชน

ที่มา: ppt. ประชุมชี้แจงการดำเนินงาน โครงการบ้านสีขาว ปลอดยาเสพติด โดย นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธิการ ป.ป.ส.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น