วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561

แนวคิดการดำเนินงาน จิตอาสาป้องกันยาเสพติด

             สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีแนวคิดที่จะมอบหมายให้จัดตั้งกลุ่มจิตอาสาในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อเป็นพลังในการป้องกันเฝ้าระวังยาเสพติด และปัญหาอื่นของชุมชน โดยมีตํารวจจิตอาสาเป็นพี่เลี้ยง เพื่อให้การดําเนินงานมีประสิทธิภาพ จึงกําหนดกระบวนการขับเคลื่อนงาน ดังนี้
             1. จัดให้มีตํารวจจิตอาสาในระดับพื้นที่ เป็นกําลังปฏิบัติงานจิตอาสาที่สําคัญ โดยมีแนวการดําเนินงาน ดังนี้
                 1.1 หน่วยงาน
                    1.1.1 ให้สถานีตํารวจทุกแห่ง คัดสรรตํารวจในสถานีนั้นๆ ที่มีความสมัครใจและมีคุณสมบัติตามที่กําหนดเป็นตํารวจจิตอาสา
                    1.1.2 มอบหมายภารกิจตํารวจจิตอาสารายบุคคลรับผิดชอบในหมู่บ้าน/ชุมชน โดยกําหนดจํานวนหมู่บ้าน/ชุมชนที่จะต้องรับผิดชอบอย่างเหมาะสมและชัดเจน
                 1.2 กระบวนการคัดเลือก ตํารวจจิตอาสาเป็นการปฏิบัติงานที่มีเกียรติ จึงกําหนดคุณสมบัติ ดังนี้
                    1.2.1 สมัครใจที่จะเป็นตํารวจจิตอาสา
                    1.2.2 มีความประพฤติเหมาะสมกับการทํางานชุมชน
                    1.2.3 ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร ตํารวจจิตอาสา
                 1.3 หน้าที่มอบหมายหน้าที่ตํารวจจิตอาสา ดังนี้
                    1.3.1 รับผิดชอบประสานงานในหมู่บ้าน/ชุมชนที่ได้รับมอบหมาย
                    1.3.2 คัดเลือกประชาชนจิตอาสาในหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
                    1.3.3 ร่วมกับประชาชนจิตอาสา และประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทํากิจกรรมป้องกัน เฝ้าระวังปัญหายาเสพติด และปัญหาเสี่ยงอื่นที่ส่งผลกระทบต่อหมู่บ้าน/ชุมชน
                    1.3.4 ขยายจํานวนประชาชนจิตอาสาให้มากขึ้น เป็นพลังสําคัญในหมู่บ้าน/ชุมชน
                    1.3.5 จัดทําและรายงานข้อมูลของหมู่บ้าน/ชุมชนและข้อมูลอื่นๆที่กําหนด รวมทั้งรายงานผลการดําเนินงาน
                    1.3.6 ร่วมแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน/ชุมชน
                    1.3.7 หน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
              2. ให้มีประชาชน จิตอาสาในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน โดย
                  2.1 กระบวนการคัดเลือกประชาชนจิตอาสา มีดังนี้
                     2.1.1 สมัครใจที่จะเป็นประชาชนจิตอาสา
                     2.1.2 มีความประพฤติดี เป็นที่นับถือ ยอมรับของคนในชุมชน
                     2.1.3 เป็นผู้นําชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
                     2.1.4 เป็นผู้เสียสละ ทํางานส่วนรวมของหมู่บ้าน/ชุมชนในโอกาสต่างๆ
                     2.1.5 เป็นผู้มีบทบาทในการดําเนินงานในกลุ่มหรือกลไกที่เป็นประโยชน์ของคนในหมู่บ้าน/ชุมชนรวมทั้ง กลไกของตํารวจ
                    2.1.6 ไม่มีความเสื่อมเสียในพฤติการณ์ที่เสี่ยงต่อกฎหมายในด้านต่างๆ
                    2.1.7 ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร ประชาชนจิตอาสา
                 2.2 หน้าที่ประชาชนจิตอาสา
                    2.2.1 ทํางานร่วมกับตํารวจจิตอาสาที่รับผิดชอบพื้นที่นั้นๆ ในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อหมู่บ้าน/ชุมชนและสังคมส่วนรวม
                    2.2.2 ดําเนินการด้านข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดและเสนอปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน และรายงานในช่องทางที่กําหนด
                    2.2.3 เป็นกําลังสําคัญร่วมกับประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ในการป้องกัน เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาและติดตามผู้ผ่านการบําบัดยาเสพติดและป้องกันปัจจัยเสี่ยงในหมู่บ้าน/ชุมชน
                    2.2.4 เป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาและบําเพ็ญประโยชน์ต่องานที่เป็นประโยชน์ และช่วยเหลืองานส่วนรวม รวมทั้งผู้ที่เดือดร้อนต่างๆ
                    2.2.5 ขยายจํานวนประชาชนจิตอาสาในหมู่บ้าน/ชุมชนให้มากขึ้น
                 2.3 การจัดตั้งประชาชนจิตอาสา เพื่อความเป็นระบบ เรียบร้อยในการบริหารจัดการ การจัดตั้งประชาชนจิตอาสาเป็นเรื่องสําคัญ จึงให้ดําเนินการ ดังนี้
                    2.3.1 ประชาชนจิตอาสาเมื่อผ่านคุณสมบัติครบถ้วน และผ่านการรับสัญลักษณ์จิตอาสา จะมีการขึ้นทะเบียนข้อมูล
                    2.3.2 เมื่อขยายจํานวนประชาชนจิตอาสาได้จํานวนหนึ่งในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ให้คัดเลือกผู้นําประชาชนจิตอาสา จํานวน 1 คน จากแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ให้เป็น ประธาน ประชาชนจิตอาสาหมู่บ้าน/ชุมชน ……เป็นแกนนํา มีหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนจิตอาสาในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ทําหน้าที่ประสานการดําเนินงาน โดยมีการดํารงหน้าที่นี้ คราวละ 2 ปี
                    2.3.3 จัดให้มีหลักสูตรพัฒนาแกนนําจิตอาสาประจําหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อส่งเสริม พัฒนาความเข้มแข็งของแกนนําจิตอาสา โดยกําหนดให้แกนนําจิตอาสาฯ ทุกคน เข้ารับการอบรมในหลักสูตรนี้
                    2.3.4 การพัฒนาการจัดตั้งกลุ่มประชาชนจิตอาสาระดับหมู่บ้าน/ชุมชน และยกระดับเป็นเครือข่ายระดับต่างๆ ให้พิจารณาอย่างเหมาะสมและคุณภาพเป็นหลัก

             3. กลไกการบริหารจัดการและความรับผิดชอบเพื่อให้การขับเคลื่อนงานประชาชนจิตอาสาเป็นไปอย่างมีระบบ จึงให้มีกลไกการจัดการ ดังนี้
                 3.1 กลไกบริหารและอํานวยการในระดับต่างๆ
                    3.1.1 สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
                       3.1.1.1 ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ มอบหมาย ………. เป็น ผู้รับผิดชอบภารกิจจิตอาสา
ป้องกันยาเสพติด มีหน้าที่กํากับ บริหารจัดการ สั่งการให้บรรลุภารกิจ
                       3.1.1.2 มอบหมาย ….. เป็นฝ่ายอํานวยการภารกิจนี้ในระดับประเทศ
                       3.1.1.3สั่งการให้หน่วยงานตํารวจนอกเหนือจากกองบัญชาการเจ้าของพื้นที่ จัดกําลังเจ้าหน้าที่ตํารวจที่เหมาะสมเข้าปฏิบัติงานเป็นตํารวจอาสา ในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนที่มีความเหมาะสมของหน่วย เข้าปฏิบัติหน้าที่ได้
                   3.1.2 ตํารวจภูธรภาค/นครบาล
                      3.1.2.1 ผู้บัญชาการตํารวจภูธรภาค 1-9 /นครบาล มอบหมาย ……. เป็นผู้รับผิดชอบภารกิจจิตอาสา ป้องกันยาเสพติด ในระดับภาคที่รับผิดชอบ
                      3.1.2.2 มอบหมาย …… เป็นฝ่ายอํานวยการภารกิจนี้ในระดับภาค
                   3.1.3 ตํารวจภูธรจังหวัดทุกจังหวัด/กองบังคับการตํารวจนครบาล 1-9
                      3.1.3.1 ผู้บังคับการตํารวจภูธรจังหวัด/ผู้บังคับการตํารวจนครบาล 1-9 มอบหมาย……เป็นผู้รับผิดชอบภารกิจจิตอาสา ป้องกันยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบ
                      3.1.3.2 มอบหมาย…... เป็นฝ่ายอํานวยการภารกิจนี้ในระดับจังหวัด
                   3.1.4 สถานีตํารวจภูธร/นครบาล
                      3.1.4.1 ผู้กํากับการสถานีตํารวจภูธร/นครบาล มอบหมาย …..… เป็นผู้รับผิดชอบภารกิจจิตอาสาฯ ในพื้นที่รับผิดชอบ
                      3.1.4.2 ตํารวจจิตอาสา เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ รับผิดชอบภารกิจจิตอาสาฯในหมู่บ้าน/ชุมชนที่ได้รับมอบหมาย
                  3.2 ความรับผิดชอบพื้นที่ กําหนดให้มีขอบเขตความรับผิดชอบในแต่ละระดับ ดังนี้
                     3.2.1 ให้กองบัญชาการตํารวจภูธร/นครบาล กองบังคับการตํารวจภูธรจังหวัด 1-9 /กองบังคับการตํารวจนครบาล 1-9/สถานีตํารวจภูธร/นครบาลทุกแห่ง สั่งการ มอบหมายให้มีบุคคลรับผิดชอบในภารกิจและพื้นที่ปฏิบัติการอย่างชัดเจน และผลักดันภารกิจให้บรรลุเป้าหมายอย่างจริงจัง
                     3.2.2 ให้จัดตํารวจอาสา ในทุกสถานีตํารวจ เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ โดยมีการมอบหมายพื้นที่ปฏิบัติอย่างชัดเจนตามความเหมาะสม รวมทั้ง พิจารณามอบหมาย ให้มีตํารวจอาสาจากหน่วยตํารวจส่วนอื่น ที่นอกเหนือจากตํารวจพื้นที่ เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่เป้าหมาย
              4. การรายงาน
                  4.1 ให้จัดทําระบบทะเบียนตํารวจจิตอาสา ระบบประชาชนติดอาสา ระบบการรายงานข้อมูล ในแต่ละระดับ เป็นระบบข้อมูลจัดเก็บโดยคอมพิวเตอร์
                  4.2 ให้มีระบบรายงานจากตํารวจจิตอาสา และประชาชนจิตอาสา ผ่าน แอปพลิเคชั่น ตรงมายังระบบข้อมูลในแต่ละระดับ
                  4.3 ข้อมูลใด เป็นความเดือดร้อนของประชาชน ให้ผู้รับผิดชอบแต่ละระดับ ประสานงาน หรือ เข้าแก้ไขอย่างจริงจัง และมีผล
             5. Roadmap มีขั้นตอนการดําเนินงาน ดังนี้
                 5.1 การจัดทําและอนุมัติโครงการ จาก สตช.
                 5.2 หน่วยงานใน สตช.ที่รับผิดชอบในแต่ละระดับจัดทําคําสั่งมอบหมาย และแต่งตั้งผู้รับผิดชอบแต่ละระดับ
                 5.3 สตช. จัดประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิบัติต่อบุคคลที่รับผิดชอบในแต่ละระดับตาม 5.2
                 5.4 สถานีตํารวจทุกแห่ง ทั้งภูธร และนครบาล คัดสรรตํารวจจิตอาสา และพิจารณาพื้นที่ที่รับผิดชอบรายบุคคล
                 5.5 จัดอบรมหลักสูตร ตํารวจจิตอาสา
                 5.6 จัดทําคําสั่งมอบหมายภารกิจตํารวจจิตอาสา
                 5.7 ตํารวจจิตอาสา คัดเลือกประชาชนจิตอาสาในหมู่บ้าน/ชุมชนที่รับผิดชอบ
                 5.8 อบรมหลักสูตรประชาชนจิตอาสา
                 5.9 จัดทําระบบทะเบียน ระบบข้อมูลรายงาน และแอปพลิเคชั่น รายงานผล
                 5.10 ทุกกลไก ปฏิบัติงานตามภารกิจ