วัตถุประสงค์ การลงทัณฑ์ทางสังคม (Social Sanction)
1. แยกครอบครัวที่ดีออกจากครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในชุมชน
2. ให้คนในครอบครัวสนใจดูแลเอาใจใส่สมาชิกไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
3. ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน
4. สร้างความสามัคคีและความร่วมมือให้เกิดขึ้นในชุมชน
5. สร้างความใกล้ชิดระหว่างชุมชนกับสถานีตำรวจ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ชุมชนมีความเข้มแข็ง ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติดและอาชญากรรม มีระบบการเฝ้าระวังและทำลายการแพร่ระบาดของยาเสพติด
2. จำนวนครอบครัวที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่ลดลงมากกว่าร้อยละ 20
3. ประชาชนในชุมชนที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด เกิดความรัก ความผูกพัน ความสามัคคีในชุมชนอย่างยั่งยืนถาวร
4. คนในครอบครัวบ้านสีขาวเป็นที่ยอมรับของสังคม ส่งผลให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลนั้นทั้งทางส่วนตัวและโอกาสในการประกอบอาชีพการงาน
เป้าหมาย
1. ชุมชนที่มีการแพร่ระบาดยาเสพติดรุนแรงจากข้อมูลของ ศอ.ปส. บช.น. ปปส.กทม. และ สน.
2. ชุมชนที่มีการแพร่ระบาดยาเสพติด และเป็นชุมชนที่มีความพร้อมและสมัครใจเข้าร่วมโครงการ
บช.น.
- บริหาร ควบคุม กำกับดูแล
- ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจ ให้ความรู้ แนะนำการปฏิบัติ
- ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานทุกระยะ
บก.อก.
- รับผิดชอบโครงการ
- ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ
- รายงานผลการดำเนินการ บช.น.
บก.น.
- แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ ผบก.น. เป็น ผอ.
- อำนวยการ ควบคุม สั่งการ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติของ สน.
- รวบรวม ประเมินผลการดำเนินการของ สน. รายงาน บช.น.
สน.
- หน่วยปฏบัติ
- ดำเนินการตามขั้นตอน
- รายงานผลให้ บก.น. ตามแบบและระยะเวลากำหนด
กทม.เขต
- สนับสนุนด้านการติดตามและช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดที่ผ่านการบำบัดรักษา
- สนับสนุนการจัดการพื้นที่เสี่ยง จุดล่อแหลม แหล่งมั่วสุม
- รายงานผลให้ ศปปส.เขต ศอ.ปส.กทม.
ปปส.กทม.
- ร่วมตรวจสอบค้นหาผู้เสพ ผู้ค้ารายย่อย/รายสำคัญในพื้นที่ชุมชน
- สนับสนุนการคัดกรองผู้เสพ/ผู้ติดภายในชุมชนเข้าสู่การบำบัดรักษา
- สนับสนุนงบประมาณ ชป. การประชุมชี้แจง การจัดทำป้ายบ้านสีขาว
✩แนวทางการดำเนินการป้องกันและแก้ไขการแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชนหรือหมู่บ้าน✩
วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561
โครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน
โครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินที่มีปัญหารุนแรง
ปัจจุบันสถานการณ์ยาเสพติดในประเทศมีการแพร่ระบาดในระดับที่น่าห่วงใย พบว่าผู้เสพยาเสพติดรายเดิมยังคงมีอยู่และผู้เสพรายใหม่มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากจากข่าวสารที่เสนอต่อสาธารณชน คดีอาชญากรรมหลายประเภท เช่น คดีข่มขืน ฆ่า ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ผู้ก่อเหตุส่วนใหญ่เป็นผู้เสพยาเสพติด ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นในสังคมหมู่บ้านและชุมชนทั่วไปเป็นตัวบ่อนทำลายความสงบสุขของประชาชนในการดำรงชีวิตมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้จึงมีแนวคิดว่าสังคมหมู่บ้านจะปลอดจากการแพร่ระบาดยาเสพติดปราศจากอาชญากรรมจะต้องให้ประชาชนในหมู่บ้านมีความเข้าใจและรับรู้ถึงพิษภัยที่เกิดขึ้นจากยาเสพติดและร่วมมือกันหยุดยั้งป้องกันการแพร่ยาเสพติดในหมู่บ้านของตนเองโดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายปกครองและฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้คอยสนับสนุนช่วยเหลือในการดำเนินการดังนั้นเพื่อให้การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดในหมู่บ้านเป็นไปอย่างยั่งยืนจึงได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินที่มีปัญหารุนแรง
วัตถุประสงค์
- เพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดยาเสพติดในหมู่บ้านที่มีปัญหาการแพร่ระบาดให้ลดน้อยลงจนถึงหมดไป
- เพื่อควบคุมพฤติกรรมผู้เสพไม่ให้กลับไปเสพยาเสพติดซ้ำอีก
- เพื่อลดจำนวนผู้เสพและทำลายขบวนการผู้ค้ายาเสพติดในหมู่บ้าน
- เพื่อสร้างความร่วมมือและความเข้มแข็งในการหยุดยั้งและป้องกันการแพร่ระบาดยาเสพติดในหมู่บ้านอย่างยังยืน
- เพื่อลดปัญหาอาชญากรรมที่ต่อเนื่องจากปัญหายาเสพติดภายในหมู่บ้าน
เป้าหมาย
- ลดจำนวนผู้เสพและผู้ค้าภายในหมู่บ้าน
- เพิ่มจำนวนครัวเรือนปลอดยาเสพติดในหมู่บ้าน
- ลดปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดและอาชญากรรมในหมู่บ้าน
- หมู่บ้านมีความเข้มแข็งในการแก้ไข ปัญหายาเสพติดด้วยตนเอง
วิธีดำเนินการ
- จัดทำโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านโดยดำเนินการในปีงบประมาณ 2561 จำนวน 85 แห่งใช้พื้นที่หมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินที่มีปัญหายาเสพติดรุนแรงทั่วประเทศเขตพื้นที่สถานีตำรวจ 85 สถานีหรือ 77 ภ.จว. และ บก.น.1-9
- แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินที่มีปัญหารุนแรงเพื่อดำเนินการบริหารและติดตามการดำเนินการของพื้นที่ปฏิบัติทั้ง 85 พื้นที่ ให้คณะกรรมการออกตรวจติดตามในพื้นที่ปฏิบัติอย่างน้อยสามครั้งแบ่งเป็นห้วงเวลาตลอดโครงการ
- ให้ระดับกองบังคับการ/ตำรวจภูธรจังหวัด จัดทำคำสั่งแต่งตั้งชุดติดตามการปฏิบัติขึ้นมาหนึ่งชุดเพื่อติดตามและแนะนำสนับสนุนการปฎิบัติตามโครงการของ สภ. ที่มีพื้นที่ปฏิบัติการในเขตรับผิดชอบโดยการประกอบกำลังเจ้าหน้าที่จำนวนห้านายมีรองผู้บังคับการที่ได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าชุดให้เข้าพื้นที่สนับสนุนการปฏิบัติของ สภ. ในทุกเดือน ตลอดโครงการ
- ในการปฎิบัติตามโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านกองทุนแม่ของแผ่นดินที่มีปัญหารุนแรงให้ สภ. จัดทำคำสั่งประกอบกำลังเป็นชุดปฏิบัติการตามโครงการโดยมีกรอบกำลังพลเป็นตำรวจชุมชนสัมพันธ์ ครูแดร์ และตำรวจประสานโรงเรียน รวมเป็นชุดปฎิบัติและมีฝ่ายสนับสนุนตามที่หัวหน้าหน่วยเห็นเหมาะสมและมีกำลังประจำชุดไม่น้อยกว่าแปดนายและให้หัวหน้าสถานีตำรวจควบคุมการปฏิบัติด้วยตนเอง หน่วยระดับผู้กำกับการให้รองผู้กำกับการเป็นหัวหน้าชุด
- ให้ชุดปฏิบัติการดำเนินการในพื้นที่โดยใช้กรอบโครงสร้างที่กำหนดให้โดยที่หน่วยปฏิบัติสามารถเพิ่มเติมปรับเปลี่ยนวิธีการขั้นตอนห้วงเวลาได้โดยอิสระแต่ต้องไม่กระทบหรือเปลี่ยนแปลงเป้าหมายหลักของโครงการและให้ประสานความร่วมมือในการปฏิบัติกับหน่วยงานข้างเคียงในพื้นที่อย่างใกล้ชิดตั้งแต่เริ่มดำเนินการโครงการในห้วงที่หนึ่งช่วงต้นน้ำโดยให้เชิญตัวแทนของหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหายาเสพติดเข้ามาเป็นคณะทำงานบูรณาการในพื้นที่เช่น ทหาร ฝ่ายปกครอง กำนันผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สาธารณสุข ครูอาจารย์ท้องถิ่นพัฒนาชุมชน และอื่นๆที่เหมาะสมมีแนวทางการดำเนินการสามห้วงเวลาดังนี้
แนวคิดการดำเนินงาน จิตอาสาป้องกันยาเสพติด
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีแนวคิดที่จะมอบหมายให้จัดตั้งกลุ่มจิตอาสาในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อเป็นพลังในการป้องกันเฝ้าระวังยาเสพติด และปัญหาอื่นของชุมชน โดยมีตํารวจจิตอาสาเป็นพี่เลี้ยง เพื่อให้การดําเนินงานมีประสิทธิภาพ จึงกําหนดกระบวนการขับเคลื่อนงาน ดังนี้
1. จัดให้มีตํารวจจิตอาสาในระดับพื้นที่ เป็นกําลังปฏิบัติงานจิตอาสาที่สําคัญ โดยมีแนวการดําเนินงาน ดังนี้
1.1 หน่วยงาน
1.1.1 ให้สถานีตํารวจทุกแห่ง คัดสรรตํารวจในสถานีนั้นๆ ที่มีความสมัครใจและมีคุณสมบัติตามที่กําหนดเป็นตํารวจจิตอาสา
1.1.2 มอบหมายภารกิจตํารวจจิตอาสารายบุคคลรับผิดชอบในหมู่บ้าน/ชุมชน โดยกําหนดจํานวนหมู่บ้าน/ชุมชนที่จะต้องรับผิดชอบอย่างเหมาะสมและชัดเจน
1.2 กระบวนการคัดเลือก ตํารวจจิตอาสาเป็นการปฏิบัติงานที่มีเกียรติ จึงกําหนดคุณสมบัติ ดังนี้
1.2.1 สมัครใจที่จะเป็นตํารวจจิตอาสา
1.2.2 มีความประพฤติเหมาะสมกับการทํางานชุมชน
1.2.3 ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร ตํารวจจิตอาสา
1.3 หน้าที่มอบหมายหน้าที่ตํารวจจิตอาสา ดังนี้
1.3.1 รับผิดชอบประสานงานในหมู่บ้าน/ชุมชนที่ได้รับมอบหมาย
1.3.2 คัดเลือกประชาชนจิตอาสาในหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
1.3.3 ร่วมกับประชาชนจิตอาสา และประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทํากิจกรรมป้องกัน เฝ้าระวังปัญหายาเสพติด และปัญหาเสี่ยงอื่นที่ส่งผลกระทบต่อหมู่บ้าน/ชุมชน
1.3.4 ขยายจํานวนประชาชนจิตอาสาให้มากขึ้น เป็นพลังสําคัญในหมู่บ้าน/ชุมชน
1.3.5 จัดทําและรายงานข้อมูลของหมู่บ้าน/ชุมชนและข้อมูลอื่นๆที่กําหนด รวมทั้งรายงานผลการดําเนินงาน
1.3.6 ร่วมแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน/ชุมชน
1.3.7 หน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
2. ให้มีประชาชน จิตอาสาในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน โดย
2.1 กระบวนการคัดเลือกประชาชนจิตอาสา มีดังนี้
2.1.1 สมัครใจที่จะเป็นประชาชนจิตอาสา
2.1.2 มีความประพฤติดี เป็นที่นับถือ ยอมรับของคนในชุมชน
2.1.3 เป็นผู้นําชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
2.1.4 เป็นผู้เสียสละ ทํางานส่วนรวมของหมู่บ้าน/ชุมชนในโอกาสต่างๆ
2.1.5 เป็นผู้มีบทบาทในการดําเนินงานในกลุ่มหรือกลไกที่เป็นประโยชน์ของคนในหมู่บ้าน/ชุมชนรวมทั้ง กลไกของตํารวจ
2.1.6 ไม่มีความเสื่อมเสียในพฤติการณ์ที่เสี่ยงต่อกฎหมายในด้านต่างๆ
2.1.7 ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร ประชาชนจิตอาสา
2.2 หน้าที่ประชาชนจิตอาสา
2.2.1 ทํางานร่วมกับตํารวจจิตอาสาที่รับผิดชอบพื้นที่นั้นๆ ในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อหมู่บ้าน/ชุมชนและสังคมส่วนรวม
2.2.2 ดําเนินการด้านข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดและเสนอปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน และรายงานในช่องทางที่กําหนด
2.2.3 เป็นกําลังสําคัญร่วมกับประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ในการป้องกัน เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาและติดตามผู้ผ่านการบําบัดยาเสพติดและป้องกันปัจจัยเสี่ยงในหมู่บ้าน/ชุมชน
2.2.4 เป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาและบําเพ็ญประโยชน์ต่องานที่เป็นประโยชน์ และช่วยเหลืองานส่วนรวม รวมทั้งผู้ที่เดือดร้อนต่างๆ
2.2.5 ขยายจํานวนประชาชนจิตอาสาในหมู่บ้าน/ชุมชนให้มากขึ้น
2.3 การจัดตั้งประชาชนจิตอาสา เพื่อความเป็นระบบ เรียบร้อยในการบริหารจัดการ การจัดตั้งประชาชนจิตอาสาเป็นเรื่องสําคัญ จึงให้ดําเนินการ ดังนี้
2.3.1 ประชาชนจิตอาสาเมื่อผ่านคุณสมบัติครบถ้วน และผ่านการรับสัญลักษณ์จิตอาสา จะมีการขึ้นทะเบียนข้อมูล
2.3.2 เมื่อขยายจํานวนประชาชนจิตอาสาได้จํานวนหนึ่งในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ให้คัดเลือกผู้นําประชาชนจิตอาสา จํานวน 1 คน จากแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ให้เป็น ประธาน ประชาชนจิตอาสาหมู่บ้าน/ชุมชน ……เป็นแกนนํา มีหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนจิตอาสาในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ทําหน้าที่ประสานการดําเนินงาน โดยมีการดํารงหน้าที่นี้ คราวละ 2 ปี
2.3.3 จัดให้มีหลักสูตรพัฒนาแกนนําจิตอาสาประจําหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อส่งเสริม พัฒนาความเข้มแข็งของแกนนําจิตอาสา โดยกําหนดให้แกนนําจิตอาสาฯ ทุกคน เข้ารับการอบรมในหลักสูตรนี้
2.3.4 การพัฒนาการจัดตั้งกลุ่มประชาชนจิตอาสาระดับหมู่บ้าน/ชุมชน และยกระดับเป็นเครือข่ายระดับต่างๆ ให้พิจารณาอย่างเหมาะสมและคุณภาพเป็นหลัก
1. จัดให้มีตํารวจจิตอาสาในระดับพื้นที่ เป็นกําลังปฏิบัติงานจิตอาสาที่สําคัญ โดยมีแนวการดําเนินงาน ดังนี้
1.1 หน่วยงาน
1.1.1 ให้สถานีตํารวจทุกแห่ง คัดสรรตํารวจในสถานีนั้นๆ ที่มีความสมัครใจและมีคุณสมบัติตามที่กําหนดเป็นตํารวจจิตอาสา
1.1.2 มอบหมายภารกิจตํารวจจิตอาสารายบุคคลรับผิดชอบในหมู่บ้าน/ชุมชน โดยกําหนดจํานวนหมู่บ้าน/ชุมชนที่จะต้องรับผิดชอบอย่างเหมาะสมและชัดเจน
1.2 กระบวนการคัดเลือก ตํารวจจิตอาสาเป็นการปฏิบัติงานที่มีเกียรติ จึงกําหนดคุณสมบัติ ดังนี้
1.2.1 สมัครใจที่จะเป็นตํารวจจิตอาสา
1.2.2 มีความประพฤติเหมาะสมกับการทํางานชุมชน
1.2.3 ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร ตํารวจจิตอาสา
1.3 หน้าที่มอบหมายหน้าที่ตํารวจจิตอาสา ดังนี้
1.3.1 รับผิดชอบประสานงานในหมู่บ้าน/ชุมชนที่ได้รับมอบหมาย
1.3.2 คัดเลือกประชาชนจิตอาสาในหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
1.3.3 ร่วมกับประชาชนจิตอาสา และประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทํากิจกรรมป้องกัน เฝ้าระวังปัญหายาเสพติด และปัญหาเสี่ยงอื่นที่ส่งผลกระทบต่อหมู่บ้าน/ชุมชน
1.3.4 ขยายจํานวนประชาชนจิตอาสาให้มากขึ้น เป็นพลังสําคัญในหมู่บ้าน/ชุมชน
1.3.5 จัดทําและรายงานข้อมูลของหมู่บ้าน/ชุมชนและข้อมูลอื่นๆที่กําหนด รวมทั้งรายงานผลการดําเนินงาน
1.3.6 ร่วมแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน/ชุมชน
1.3.7 หน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
2. ให้มีประชาชน จิตอาสาในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน โดย
2.1 กระบวนการคัดเลือกประชาชนจิตอาสา มีดังนี้
2.1.1 สมัครใจที่จะเป็นประชาชนจิตอาสา
2.1.2 มีความประพฤติดี เป็นที่นับถือ ยอมรับของคนในชุมชน
2.1.3 เป็นผู้นําชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
2.1.4 เป็นผู้เสียสละ ทํางานส่วนรวมของหมู่บ้าน/ชุมชนในโอกาสต่างๆ
2.1.5 เป็นผู้มีบทบาทในการดําเนินงานในกลุ่มหรือกลไกที่เป็นประโยชน์ของคนในหมู่บ้าน/ชุมชนรวมทั้ง กลไกของตํารวจ
2.1.6 ไม่มีความเสื่อมเสียในพฤติการณ์ที่เสี่ยงต่อกฎหมายในด้านต่างๆ
2.1.7 ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร ประชาชนจิตอาสา
2.2 หน้าที่ประชาชนจิตอาสา
2.2.1 ทํางานร่วมกับตํารวจจิตอาสาที่รับผิดชอบพื้นที่นั้นๆ ในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อหมู่บ้าน/ชุมชนและสังคมส่วนรวม
2.2.2 ดําเนินการด้านข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดและเสนอปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน และรายงานในช่องทางที่กําหนด
2.2.3 เป็นกําลังสําคัญร่วมกับประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ในการป้องกัน เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาและติดตามผู้ผ่านการบําบัดยาเสพติดและป้องกันปัจจัยเสี่ยงในหมู่บ้าน/ชุมชน
2.2.4 เป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาและบําเพ็ญประโยชน์ต่องานที่เป็นประโยชน์ และช่วยเหลืองานส่วนรวม รวมทั้งผู้ที่เดือดร้อนต่างๆ
2.2.5 ขยายจํานวนประชาชนจิตอาสาในหมู่บ้าน/ชุมชนให้มากขึ้น
2.3 การจัดตั้งประชาชนจิตอาสา เพื่อความเป็นระบบ เรียบร้อยในการบริหารจัดการ การจัดตั้งประชาชนจิตอาสาเป็นเรื่องสําคัญ จึงให้ดําเนินการ ดังนี้
2.3.1 ประชาชนจิตอาสาเมื่อผ่านคุณสมบัติครบถ้วน และผ่านการรับสัญลักษณ์จิตอาสา จะมีการขึ้นทะเบียนข้อมูล
2.3.2 เมื่อขยายจํานวนประชาชนจิตอาสาได้จํานวนหนึ่งในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ให้คัดเลือกผู้นําประชาชนจิตอาสา จํานวน 1 คน จากแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ให้เป็น ประธาน ประชาชนจิตอาสาหมู่บ้าน/ชุมชน ……เป็นแกนนํา มีหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนจิตอาสาในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ทําหน้าที่ประสานการดําเนินงาน โดยมีการดํารงหน้าที่นี้ คราวละ 2 ปี
2.3.3 จัดให้มีหลักสูตรพัฒนาแกนนําจิตอาสาประจําหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อส่งเสริม พัฒนาความเข้มแข็งของแกนนําจิตอาสา โดยกําหนดให้แกนนําจิตอาสาฯ ทุกคน เข้ารับการอบรมในหลักสูตรนี้
2.3.4 การพัฒนาการจัดตั้งกลุ่มประชาชนจิตอาสาระดับหมู่บ้าน/ชุมชน และยกระดับเป็นเครือข่ายระดับต่างๆ ให้พิจารณาอย่างเหมาะสมและคุณภาพเป็นหลัก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)