สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีแนวคิดที่จะมอบหมายให้จัดตั้งกลุ่มจิตอาสาในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อเป็นพลังในการป้องกันเฝ้าระวังยาเสพติด และปัญหาอื่นของชุมชน โดยมีตํารวจจิตอาสาเป็นพี่เลี้ยง เพื่อให้การดําเนินงานมีประสิทธิภาพ จึงกําหนดกระบวนการขับเคลื่อนงาน ดังนี้
1. จัดให้มีตํารวจจิตอาสาในระดับพื้นที่ เป็นกําลังปฏิบัติงานจิตอาสาที่สําคัญ โดยมีแนวการดําเนินงาน ดังนี้
1.1 หน่วยงาน
1.1.1 ให้สถานีตํารวจทุกแห่ง คัดสรรตํารวจในสถานีนั้นๆ ที่มีความสมัครใจและมีคุณสมบัติตามที่กําหนดเป็นตํารวจจิตอาสา
1.1.2 มอบหมายภารกิจตํารวจจิตอาสารายบุคคลรับผิดชอบในหมู่บ้าน/ชุมชน โดยกําหนดจํานวนหมู่บ้าน/ชุมชนที่จะต้องรับผิดชอบอย่างเหมาะสมและชัดเจน
1.2 กระบวนการคัดเลือก ตํารวจจิตอาสาเป็นการปฏิบัติงานที่มีเกียรติ จึงกําหนดคุณสมบัติ ดังนี้
1.2.1 สมัครใจที่จะเป็นตํารวจจิตอาสา
1.2.2 มีความประพฤติเหมาะสมกับการทํางานชุมชน
1.2.3 ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร ตํารวจจิตอาสา
1.3 หน้าที่มอบหมายหน้าที่ตํารวจจิตอาสา ดังนี้
1.3.1 รับผิดชอบประสานงานในหมู่บ้าน/ชุมชนที่ได้รับมอบหมาย
1.3.2 คัดเลือกประชาชนจิตอาสาในหมู่บ้าน/ชุมชนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
1.3.3 ร่วมกับประชาชนจิตอาสา และประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ทํากิจกรรมป้องกัน เฝ้าระวังปัญหายาเสพติด และปัญหาเสี่ยงอื่นที่ส่งผลกระทบต่อหมู่บ้าน/ชุมชน
1.3.4 ขยายจํานวนประชาชนจิตอาสาให้มากขึ้น เป็นพลังสําคัญในหมู่บ้าน/ชุมชน
1.3.5 จัดทําและรายงานข้อมูลของหมู่บ้าน/ชุมชนและข้อมูลอื่นๆที่กําหนด รวมทั้งรายงานผลการดําเนินงาน
1.3.6 ร่วมแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน/ชุมชน
1.3.7 หน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
2. ให้มีประชาชน จิตอาสาในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน โดย
2.1 กระบวนการคัดเลือกประชาชนจิตอาสา มีดังนี้
2.1.1 สมัครใจที่จะเป็นประชาชนจิตอาสา
2.1.2 มีความประพฤติดี เป็นที่นับถือ ยอมรับของคนในชุมชน
2.1.3 เป็นผู้นําชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
2.1.4 เป็นผู้เสียสละ ทํางานส่วนรวมของหมู่บ้าน/ชุมชนในโอกาสต่างๆ
2.1.5 เป็นผู้มีบทบาทในการดําเนินงานในกลุ่มหรือกลไกที่เป็นประโยชน์ของคนในหมู่บ้าน/ชุมชนรวมทั้ง กลไกของตํารวจ
2.1.6 ไม่มีความเสื่อมเสียในพฤติการณ์ที่เสี่ยงต่อกฎหมายในด้านต่างๆ
2.1.7 ต้องผ่านการอบรมหลักสูตร ประชาชนจิตอาสา
2.2 หน้าที่ประชาชนจิตอาสา
2.2.1 ทํางานร่วมกับตํารวจจิตอาสาที่รับผิดชอบพื้นที่นั้นๆ ในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อหมู่บ้าน/ชุมชนและสังคมส่วนรวม
2.2.2 ดําเนินการด้านข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดและเสนอปัญหาที่เป็นความเดือดร้อนของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน และรายงานในช่องทางที่กําหนด
2.2.3 เป็นกําลังสําคัญร่วมกับประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ในการป้องกัน เฝ้าระวัง แก้ไขปัญหาและติดตามผู้ผ่านการบําบัดยาเสพติดและป้องกันปัจจัยเสี่ยงในหมู่บ้าน/ชุมชน
2.2.4 เป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาและบําเพ็ญประโยชน์ต่องานที่เป็นประโยชน์ และช่วยเหลืองานส่วนรวม รวมทั้งผู้ที่เดือดร้อนต่างๆ
2.2.5 ขยายจํานวนประชาชนจิตอาสาในหมู่บ้าน/ชุมชนให้มากขึ้น
2.3 การจัดตั้งประชาชนจิตอาสา เพื่อความเป็นระบบ เรียบร้อยในการบริหารจัดการ การจัดตั้งประชาชนจิตอาสาเป็นเรื่องสําคัญ จึงให้ดําเนินการ ดังนี้
2.3.1 ประชาชนจิตอาสาเมื่อผ่านคุณสมบัติครบถ้วน และผ่านการรับสัญลักษณ์จิตอาสา จะมีการขึ้นทะเบียนข้อมูล
2.3.2 เมื่อขยายจํานวนประชาชนจิตอาสาได้จํานวนหนึ่งในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ให้คัดเลือกผู้นําประชาชนจิตอาสา จํานวน 1 คน จากแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ให้เป็น ประธาน ประชาชนจิตอาสาหมู่บ้าน/ชุมชน ……เป็นแกนนํา มีหน้าที่เป็นตัวแทนประชาชนจิตอาสาในแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ทําหน้าที่ประสานการดําเนินงาน โดยมีการดํารงหน้าที่นี้ คราวละ 2 ปี
2.3.3 จัดให้มีหลักสูตรพัฒนาแกนนําจิตอาสาประจําหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อส่งเสริม พัฒนาความเข้มแข็งของแกนนําจิตอาสา โดยกําหนดให้แกนนําจิตอาสาฯ ทุกคน เข้ารับการอบรมในหลักสูตรนี้
2.3.4 การพัฒนาการจัดตั้งกลุ่มประชาชนจิตอาสาระดับหมู่บ้าน/ชุมชน และยกระดับเป็นเครือข่ายระดับต่างๆ ให้พิจารณาอย่างเหมาะสมและคุณภาพเป็นหลัก